วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อาจารย์ค่ะ รายงานการทัศนศึกษา อยู่บทความที่ 2 นะค่ะ

งานภาพถ่าย

เส้นนำสายตา


เน้นนำหนักสี



พื้นผิว



สะท้อนแสง



สมดุล


รูปแบบ



ฉากหน้า


กรอบ










'

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ทัศนศึกษา ณ พิพิธพัณฑ์จังหวัดอุดรธานี

การไปทัศนศึกษา ณ พิพิธภัณฑ์จังหวัดอุดรธานี
นักศึกษาปริญญาบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
หมู่ 8
วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2552



พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี (อาคารราชินูทิศ)

ชื่อพิพิธภัณฑ์ : พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี

หน่วยงานที่รับผิดชอบ : เทศบาลนครอุดรธานี

ผู้รับผิดชอบหลัก : สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี
โทรศัพท์ 042-325176-85

ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ที่อาคารราชินูทิศ อาคารเก่าสมัยรัชกาลที่ 6
อยู่ริมถนนโพศรี ใกล้วัดโพธิสมภาร ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี




พิพิธภัณฑ์เมืองจังหวัดอุดรธานีตั้งอยู่ริมถนนโพศรี
ใกล้วัดโพธิสมภรณ์
ตัวอาคารสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2463
โดยดำริพระยาศรีสุริยราชวรรานุวัตร สมุหเทศาภิบาล
สำเร็จราชการมณฑลอุดร คุณหญิง ข้าราชการ
พ่อค้าและประชาชนในจังหวัด
เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนสำหรับโรงเรียนนารีอุปถัมภ์
สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2468 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามโรงเรียนขึ้นใหม่ว่า ราชินูทิศ
จึงเป็นชื่อเรียกอาคารหลังนี้สืบมา

อาคารราชินูทิศได้ใช้เป็นอาคารสำนักส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง
เมื่อพ.ศ. 2473และเมื่อปีพ.ศ. 2503 ใช้เป็นสำนักโครงการพัฒนาการศึกษา
ส่วนภู มิภาคจนต่อมาพ.ศ. 2516 ใช้เป็นอาคารสำนักงานศึกษาธิการเขต
เขตการศึกษา 9
และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี
และในปีพ.ศ.2547 จังหวัดอุดรธานี
ได้มอบหมายให้เทศบาลนครอุดรธานี เป็นผู้ดูแลรักษา
อาคารราชินูทิศเป็นอาคาร 2 ชั้น ก่อด้วยอิฐถือปูน
รูปทรงแบบตะวันตก หลังคาทรงปั้นหยา
หน้าต่างโค้ง มีมุขยื่นออกมาด้านหน้าซุ้มประตู
ปัจจุบันได้ปรับปรุงอาคารดังกล่าวนี้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี



การจัดแสดงเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับจังหวัดอุดรธานีการจัดแสดงภายใน


1. ห้องประชาสัมพันธ์และบริการ
ห้องนี้เป็นการนำให้รู้จักกับอาคารจำลองของ
พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานีและหอสูง 9 ชั้น
ซึ่งจะเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์กลางน้ำในหนองประจักษ์
ที่เชื่อมต่อด้านหลังของอาคารพิพิธภัณฑ์เมืองหลังนี้
โดยจะมีโครงการจัดสร้างขึ้นในอนาคต
ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
ของจังหวัดอุดรธานีที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง
นอกจากนี้จะมีแผนที่หรือแผนผังที่แสดง
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัด อุดรธานี


2. ห้องพระประวัติพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
ผู้ตั้งเมืองอุดรธานี จัดแสดงอนุสาวรีย์และ
พระฉายาลักษณ์ พร้อมพระประวัติ
และพระกรณียกิจ แสดงของใช้ส่วนพระองค์
แสดงหุ่นจำลองเมื่อครั้ง
การอพยพกำลังพลทหารจากเมืองหนองคาย
มาตั้งฐานทัพเป็นมณฑลอุดร
ที่บ้านเดื่อหมากแข้ง


3. ห้องธรรมชาติวิทยาและธรณีวิทยา
แสดงสภาพทรัพยากรธรรมชาติของอุดรธานี
ตลอดจนซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบในจังหวัดอุดรธานี
จัดแสดงแหล่งที่พบ

ทรัพยากรธรรมชาติและตัวอย่าง
ทรัพยากรธรรมชาติที่
พบมากในจังหวัดอุดรธานี
ได้แก่ แร่โปรแตส ก๊าซธรรมชาติ


4. ห้องประวัติศาสตร์และโบราณคดี
แสดงความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
และแสดงแหล่งโบราณคดี
ในจังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ยุคก่อน
ประวัติศาสตร์ยุคแรก
คือ แหล่งอารยธรรมบ้านเชียง
แหล่งโบราณคดียุคประวัติศาสตร์
คือ แหล่งอารยธรรมที่
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
และโบราณวัตถุศิลปะสมัยลพบุรี
พบที่วัดกู่แก้ว
และประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา
แสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์
และโบราณคดีที่ขุดค้นและพบ
ในเขตจังหวัดอุดรธานี


5. ห้องมานุษวิทยาและชาติพันธุ์
แสดงให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคน
ที่อาศัยอยู่บริเวณ
จังหวัดอุดรธานีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
อาทิ จำลองสภาพความเป็นอยู่
บ้านเรือน เครื่องใช้ต่างๆ และกลุ่มชาติพันธุ์
ที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานี


6. ห้องประวัติศาสตร์และการพัฒนาเมืองของ
พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์

กรมหลวงประจักษ์ ศิลปคม
แสดงภาพถ่ายโบราณและ
ภาพวาดของของพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์
กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
ที่สร้างเมืองอุดรธานี
บริเวณบ้านเดื่อหมากแข้ง

7. ห้องศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
แสดงให้เห็นเกี่ยวกับ ศิลปวัฒนธรรม
ของชาวจังหวัดอุดรธานี
ได้แก่ การทอเสื่อ การสร้างเรือน ศิลปการแสดง
การทอผ้า ศิลปะบายศรีสู่ขวัญ



8. ห้องหลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโน
ศรัทธาแห่งแผ่นดิน อริยสงฆ์ที่ปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบและเป็นที่เคารพ
ของชาวจังหวัดอุดรธานีและชาวไทย
และแสดงนิทรรศการ
เกี่ยวกับพระอริยสงฆ์ เกจิอาจารย์ ของจังหวัดอุดรธานีและภาคอีสาน

9.ห้องพระประวัติพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
และห้องราชสกุลทองใหญ่
แสดงภาพสายราชสกุล ทองใหญ่




ภาพกิจกรรมการไปทัศนศึกษา













ป้ายนิเทศสื่อทางเสียง


การจัดป้ายนิเทศสื่อทางเสียง

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552

powerpointยุ้ย

แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องการจัดตกแต่งบ้านและบริเวณบ้าน เวลา 4 ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การจัดตกแต่งภายใน เวลา 1 ชั่วโมง

วันที่ .......เดือน ............พ.ศ. ........... สอนโดยนางสาวศุภักษร พรหมสิทธิ์

มาตรฐานการเรียนรู้ ง.1.1:เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดกระบวนการ ทักษะการทำงานร่วมกันและทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว

สาระสำคัญ
การจัดตกแต่งบ้านและบริเวณบ้านให้สวยงามนั้นไม่จำเป็นต้องใช้สิ่งประดับตกแต่งที่หรูหรา มีราคาแพงเพียงแต่หาวัสดุเหลือใช้หรือมีอยู่ในบ้านมาประดับตกแต่งก็สามารถทำให้เกิดความสวยงามและน่าอยู่อาศัยได้

ผลการเรียนที่คาดหวัง
1. วิเคราะห์การจัดตกแต่งบ้านและบริเวณบ้านได้
2. วางแผนและปฏิบัติการจัดตกแต่งบ้านและบริเวณบ้านได้

สาระการเรียนรู้
การจัดตกแต่งบ้านและบริเวณบ้าน
1. การจัดตกแต่งภายในบ้าน

การจัดกระบวนการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับการจัดบ้านของนักเรียน
2. ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบ้านของนักเรียน



ขั้นสอน
1.ครูอธิบายถึงเนื้อหาสาระสำคัญการจัดตกแต่งภายใน
2.ครูให้นักเรียนศึกษาดูใบความรู้
3.ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คน ศึกษาทำใบงานและร่วมกันอภิปรายใน ชั้นเรียน

สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
1.หนังสือประกอบการเรียนการสอน
2.ใบความรู้

การวัดและประเมินผล
วิธีการวัดและประเมินผล
1.สังเกตพฤติกรรมกลุ่ม
2.สังเกตพฤติกรรมบุคคล
3.สังเกตการอภิปราย
เครื่องมือวัดและประเมินผล
1.แบบประเมินพฤติกรรมกลุ่ม
2.แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล
3.แบบสังเกตการอภิปราย
เกณฑ์การวัดผลประเมินผล
1.ประเมินพฤติกรรมกลุ่ม ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
2.ประเมินแบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคลผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60
3.ประเมินแบบสังเกตการอภิปรายผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60

แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม
1.หนังสือเรียน
2.ใบความรู้

ใบความรู้
การจัดตกแต่งภายในบ้าน
ห้องต่าง ๆ ภายในบ้านนอกจากการทำความสะอาดเป็นประจำแล้ว ควรมีการจัดตกแต่งเปลี่ยนแปลงสภาพ เพื่อประโยชน์ ดังนี้ ทำให้พื้นที่บนส่วนประกอบของห้องมีความหมายขึ้นช่วยแก้ไขความไม่สมดุลในการตกแต่งภายใน เพิ่มเติมสีสันและปรับปรุงบรรยากาศภายในห้องให้น่าสนใจยิ่งขึ้นลดความรู้สึกจำเจจากเครื่องเรือนหรือสิ่งตกแต่งเดิมทำให้เกิดความสวยงามและน่าอยู่มากขึ้น

การวางแผนจัดตกแต่งบ้านตกแต่งบ้าน
ก่อนทำการจัดตกแต่งบ้านควรจะมีการวางแผนก่อน เพราะถ้าลงทุนจัดตกแต่งแล้วไม่ต้องการจะแก้ไขยาก และทำให้เสียเวลา วิธีปฏิบัติทำได้ดังนี้
1.สำรวจสภาพพื้นที่โดยรอบว่าควรจัดตกแต่งบริเวณใดบ้าง มีส่วนใดต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น
2.กำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการจัดตกแต่ง
3.กำหนดรูปแบบ ทำแผนผังในการจัดวางสิ่งของตกแต่ง
4.ศึกษาวิธีการ ขั้นตอนการจัดตกแต่ง
5.จัดเตรียมวัสดุ และสิ่งที่จะใช้ในการตกแต่งให้พร้อม
6.ลงมือปฏิบัติการจัดตกแต่ง

รูปแบบการจัดตกแต่งภายในบ้าน
การจัดตกแต่งภายในบ้าน มีรูปแบบการจัดตกแต่งที่อาจทำได้ ดังนี้
1.การตกแต่งด้วยเครื่องเรือน ห้องแต่ละห้องจะมีเครื่องเรือนไม่เหมือนกัน เช่น ห้องรับแขก มีชุดรับแขก และตู้โชว์ ส่วนห้องนอนมีเตียงนอน และตู้เสื้อผ้า สำหรับห้องครัวมีโต๊ะอาหาร และตู้กับข้าวการเลือกใช้และวางเครื่องเรือนควรพิจารณาให้เหมาะสมกับห้อง 2.การตกแต่งโดยใช้สี การใช้สีทำให้ดูสวยขึ้น และช่วยปกปิดบางสิ่งที่ไม่น่าดูได้ การจัดตกแต่งภายในบ้าน อาจใช้สีทาผนัง หรือใช้สีของเครื่องเรือน สีของสิ่งตกแต่งมาประกอบกันให้เกิดความสวยงาม สีที่เข้ากันได้ดีที่สุด คือ สีที่เกิดตามธรรมชาติ เช่น สีเขียวของใบไม้ สีน้ำตาลของลำต้น กิ่งไม้ สีเทาของก้อนหิน สีเหลืองของไม้ไผ่แห้ง เป็นต้น
3.การตกแต่งโดยใช้ต้นไม้ ในปัจจุบันจะนิยมนำต้นไม้มาใช้ในการตกแต่งบ้าน เพื่อให้ห้องมีความสวยงาม สดชื่น มีชีวิตชีวา โดยอาจจะนำมาจัดวางไว้ที่มุมห้อง โต๊ะรับแขก โต๊ะรับประทานอาหาร ต้นไม้ที่นิยมใช้เป็นสิ่งตกแต่ง เช่น บอนสี ว่าน โกสน พลูด่าง 4.การจัดตกแต่งโดยใช้งานศิลปหัตถกรรม วิธีการจัดตกแต่งห้องให้สวยงามมีคุณค่า อาจทำได้โดยการนำสิ่งของที่ประดิษฐ์ขึ้นด้วยฝีมือตนเอง หรือผลงานด้านศิลปะมาใช้ประดับตกแต่ง ถ้ารู้จักนำมาใช้ให้เหมาะสมกลมกลืนกันกับสถานที่จัดวางสิ่งตกแต่งอย่างมีศิลป์ อาทิ ประดับมุมห้องด้วยแจกันดอกไม้ทรงต่าง ๆ จัดวางหมอนอิงลายสวยบนชุดรับแขก ปูพื้นห้องด้วยพรม สิ่งเหล่านี้จะช่วยดึงดูดความสนใจได้มาก

ใบงาน
ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 2 – 3 คน ให้แต่ละกลุ่มศึกษาและร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการเลือกสี เลือกลาย เลือกแบบในการจัดตกแต่งบ้าน
เลือกสี เลือกลาย เลือกแบบ บ้านสำหรับผู้ที่รักความเรียบง่าย การใช้สีภายในห้องที่เย็นตา เช่น สีเทาอมฟ้า สีครีม โดยพิจารณาจากเครื่องเรือนที่มีอยู่ โดยดึงสีของเครื่องเรือนและผ้าบุ หากเป็นผ้าลาย เช่น ผ้าหุ้มเบาะที่โซฟา จะเห็นสีน้ำตาลอ่อนแก่พิมพ์ลาย ให้เลือกสีที่มีอยู่ในเครื่องเรือนมาใช้ได้ เพราะสีในห้องเป็นสีที่เรียบง่ายอยู่แล้ว สีธรรมชาติของเนื้อไม้ หรือสีโอ๊กเข้ม สามารถเข้ากันได้กับสีฟ้า สีเทาอมฟ้า แบบของตู้เป็นแบบคลาสสิก กรอบรูป โคมไฟ แจกัน มีสีสันที่ไม่ฉูดฉาด ให้แนวคิดในการจัดกลุ่มของสีได้เสมอ แต่ถ้ามีสีที่ชอบอยู่ในใจ จะใช้สีเหล่านั้นมาตกแต่งห้องก็ได้ โดยยึดหลัก
- เลือกสีที่ทุกคนในบ้านพอใจ เพราะทุกคนเป็นเจ้าของห้องอยู่อาศัย นอกจากห้องที่ใช้ร่วมกันอาจต้องพบกันครึ่งทาง
- เครื่องเรือนต่าง ๆ ที่มีอยู่และเครื่องเรือนที่วางแผนจะซื้อใหม่ จะเป็นตัวจำกัดและชี้นำให้เกิดโครงสีหลัก ขนาดและรูปร่างของห้องเป็นสิ่งที่ควรพิจารณา ตัวอย่างที่นำเสนอเป็นสีอ่อนที่ทำให้ห้องดูกว้างขึ้น ไม่ควรใช้สีที่คอนทราสหรือดูขัดแย้ง เพราะจะทำให้ห้องดูผิดส่วน ม่าน และผ้าหุ้มเบาะควรมีสีกลมกลืนกับผนัง หรือมีลวดลายเล็ก ไม่ควรเลือกลายผ้าที่มีดอกดวงใหญ่นัก จำทำให้ห้องแคบ
- ขนาดและรูปร่างของเครื่องเรือน ใหญ่ เล็ก มีรายละเอียดหรือสไตล์ที่ทำให้ดูหนาหนักอันเนื่องมาจากการเลือกใช้สี
- โซฟาตัวใหญ่หนานุ่มให้ความรู้สึกมั่นคงต่อผู้นั่ง และจะดีขึ้นถ้ารู้จักเลือกสี เลือกลาย เลือกแบบที่เข้ากันได้ สีต้องเข้ากลุ่ม มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับเครื่องเรือนชนิดอื่น

กิจกรรมที่ 1
1.กลุ่มของนักเรียนได้อะไรจากการทำกิจกรรมนี้ ............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. 2.ให้นักเรียนสรุปเรื่องที่ได้ศึกษามาพอเข้าใจ ............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
3.การจัดตกแต่งบ้านต้องคำนึงถึงสิ่งใด ............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
4.บ้านของนักเรียนมีการจัดตกแต่งอย่างไร ............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ชื่อ 1............................ 2.......................... 3...........................

ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน

สื่อทางเสียง

สื่อทางเสียง

จัดทำโดย
นางสุธีรา มงคล
นางบัวสอน ชาวกล้า
นางธัญญธรณ์ แจคำ
นางสาวศิริรัตน์ สุวรรณ
นางสาวศุภัคษร พรหมสิทธิ์
นางสาวสุพรรษา คำพันธ์


สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะประสบการณ์จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ สื่อทางเสียงนับเป็นสื่อที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการถ่ายทอดเสียงจากครูผู้สอน ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจมากกว่า การเห็นภาพเพียงอย่างเดียวการใช้สื่อทางเสียงช่วยในการจัดการเรียนการสอนจำเป็นต้องมือเครื่องมือประเภทโสตทัศนูปกรณ์เข้ามาร่วมด้วยเช่น เครื่องเสียง ไมโครโฟน โสตวัสดุ เช่นเครื่องเครื่องบันทึกเสียงเครื่องรับวิทยุ เครื่องเล่นแผ่นเสียง แผ่นเสียง เครื่องขยายเสียง เป็นต้น เครื่องเสียง เครื่องเสียงมีลักษณะที่เป็นอุปกรณ์ที่เป็นสื่อกลางหรือตัวผ่านในการถ่ายทอดเนื้อหาประเภทเสียงจากมนุษย์และแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆให้มี เสียงดังเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ได้ยินในระยะไกลและเพิ่มความดังของเสียงเพื่อ ให้ผู้ฟังจำนวนมากได้ยินอย่างชัดเจน องค์ประกอบของเครื่องเสียงประกอบด้วยภาคสัญญาณเข้า(ไมโครโฟน)ภาคขยาย สัญญาณ ภาคสัญญาณออก (ลำโพง)เครื่องเทปเสียงเครื่องเทปเสียงเป็นอุปกรณ์ในภาคสัญญาณเข้า เพื่อบันทึกเสียงต่าง ๆ ลงบนแถบเทป โดยใช้การเคลื่อนที่ของแถบเทปผ่านหัวเทปซึ่งอาศัยหลักการเหนี่ยวนำของคลื่อไฟฟ้าความถี่เสียง เมื่อบันทึกเสียงแล้วจะมีการนำมาเล่นเพื่อส่งไปยังภาคขยายสัญญาณและถ่ายทอดเป็นคลื่นเสียงธรรมชาติให้ได้ยินต่อไป
ประเภทของเครื่องเทปเสียง
เครื่องเทปเสียงแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทตามลักษณะของตลับเทป ได้แก่
1. แบบม้วนเปิด (open reel ) เป็นเทปบันทึกเสียงที่ให้คุณภาพเสียงดี เหมาะสำหรับการใช้งานระดับมืออาชีพ เช่น เสียงดนตรี รายการวิทยุ เป็นต้น
2. แบบกล่อง ( cartridge ) หรือเรียกทับศัพท์ว่า “เทปคาทริดจ์” เป็นเทปที่บรรจุอยู่ในกล่องมีขนาดความกว้างแถบเทป ¼ นิ้ว พันเป็นวงปิดระหว่างวงล้อ 2 วงโดยจะมีการเล่นเทปวนซ้ำไปมาไม่รู้จบ เทปแบบนี้นิยมใช้งานสปอตวิทยุ
3. แบบตลับคาสเซต ( cassette ) เป็นเทปบันทึกเสียงที่อยูในตลับพลาสติกแบน เป็นแบบที่นิยมใช้กันทั่วไป มีขนาดความกว้างแถบเทป 1/8 นิ้ว
4. แบบตลับคาสเซตเล็ก ( micro cassette ) มีลักษณะเช่นเดียวกับเทปคาสเซตธรรมดาแต่บรรจุในตลับขนาดเล็กกว่า มีความยาวในการเล่นเพียง 15 นาทีเท่านั้น
การใช้งาน
เครื่องเทปเสียงจะมีขั้นตอนสำคัญในการใช้งาน 3 ลักษณะ
1. การบันทึกเสียง (record) เครื่องเสียงเทปไม่ว่าประเภทใดก้ตาม จะมีการบันทึกเสียงลงบนแถบเทปโดยอาศัยหลักการเดียวกัน คือ คลื่อเสียงที่ป้อนเข้าไมโครโฟนซึ่งเป้นตัวส่งสัญญาณไฟฟ้าจะถูกเปลี่ยนแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าความถี่เสียง แล้วขยายโดยเครื่องขยายเสียงให้กำลังแรงขึ้นเพื่อส่งไปยังหัวเทปซึ่งมีลักษณะเป็นขดลวดพันรอบแกนเหล็ก
2. การเปิดฟัง (play back) เป็นการนำแถบเทปที่มีการบันทึกเสียงแล้วในรูปของพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้ามาเปิดฟัง โดยขณะที่แถบเทปเคลื่อนผ่านหัวเทปจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าความถี่เสียง แล้วส่งต่อไปยังเครื่องขยายเสียง
3. การลบเทป (erase) เป็นการลบเสียงที่บันทึกไว้แล้วโดยการให้แถบเทปเคลื่อนที่ผ่านหัวเทปหรือสนามแม่เหล็กที่มีกำลังสูง ซึ่งจะทำให้โมเลกุลแม่เหล็กบนแถบเทปถูกทำให้เป็นระเบียบใหม่และจะทำให้เสียงที่บันทึกไว้แล้วหายไป

ตัวอย่างสื่อทางเสียง
วิทยุ
วิทยุ เป็นสื่ออุปกรณ์สื่อสารในการรับส่งข่าวสารข้อมูลทางเสียงโดยใช้คลื่นแม่ เหล็กไฟฟ้าโดยไม่ต้องใช้สาย การใช้วิทยุเพื่อเป็นสื่อมวลชนเพื่อการศึกษาในประเทศไทยเริ่มมีตั้งแต่ปี พ.ศ.2497 โดยใช้วิทยุการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ถ้าเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียนจะรียกว่า “วิทยุโรงเรียน” ถ้าเป็นการศึกษานอกระบบโรงเรียนจะเป็นในลักษณะของ “วิทยุไปรษณีย์” ซึ่งเราเรียกวิทยุในการศึกษานี้รวมกันว่า “วิทยุศึกษา”
การใช้วิทยุเพื่อการศึกษา
การใช้วิทยุเพื่อการศึกษาสามารถนำมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่
1.การสอนโดยตรง เป็นการใช้วิทยุเพื่อเป็นสื่อสอน โดย ตรงในบางวิชาหรือบางตอนของบทเรียน รายการวิทยุที่ใช้สอนจึงเป็นการเสนอเนื้อหาตามบทเรียนในหลักสูตร การบทเรียนทางวิทยุเพื่อการสอนโดยตรงนี้อาจใช้ได้ในสถานที่ ที่ขาดแคลนครู หรือครูผู้สอนอาจไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นเพียงพอก็ได้จึงต้องใช้ รายการวิทยุแทน การสอนโดยใช้วิทยุสามารถกระทำได้ดังนี้
ก.ใช้เป็นเครื่องมือในการสอน โดยผู้สอนจะวางแผนการสอนโดยนำรายการวิทยุเข้าไว้ในกระบวนการสอนด้วย หรือการใช้วิทยุเป็นสื่อเข้ามามีบทบาทเพื่อสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่งแทนผู้สอน โดยตรงในห้องเรียน ซึ่งผู้สอนจะต้องศึกษาจากตารางการออกอากาศที่กำหนดไว้เพื่อนำรายการนั้นมา สอนให้ตรงกับเวลาของตน
ข.ใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ เป็นการบันทึกเสียงรายการวิทยุที่ใช้สอนบทเรียนต่างๆ ไว้ในเทปเสียง แล้วรวบรวมไว้ในห้องสมุด เพื่อให้ผู้เรียนสามารถขอยืมออกไปเปิดฟังและสึกษาด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ หรืออาจใช้เพื่อการทบทวนบทเรียนและสอนเป็นกลุ่มย่อยก็ได้
ค.ใช้เป็นสื่อหลักในการในการศึกษาตามหลักสูตร ด้วยการจัดการสอนแก่ผู้เรียนในระบบการศึกษาแบบทางไกล โดยให้ผู้เรียนฟังรายการสอนจากวิทยุเป็นหลักแล้ศึกษาเพิ่มเติมจากสื่ออื่นๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์หรือการพบกลุ่ม เพื่อเสริมความรู้จากบทเรียนตามที่ได้ฟังมา
ง.เป็นสื่อเสริมในการศึกษาระบบเปิด ด้วยการใช้รายการวิทยุเป็นสื่อเสริมประเภทหนึ่งในระบบการศึกษาทางไกล โดยใช้ร่วมกับสื่ออื่นๆ เช่น โทรทัศน์หรือสิ่งพิมพ์เป็นต้น
จ.ใช้เป็นอุปกรณ์ในการฝึกอบรม เป็นการใช้รายการวิทยุหรือเทปบันทึกเสียงรายการนั้นๆ เพื่อการสอนหรือฝึกอบรมในหน่วยงาน
2.การเพิ่มคุณค่าในการสอน เป็น การใช้รายการวิทยุเพื่อปรุงแต่งและเสริมคุณค่าของการสอนในบางวิชาให้มี ประสิทธิผลสูงขึ้น โดยการเสนอรายการที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรบทเรียนนั้นให้ผู้เรียนฟังเพื่อ ให้มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนนั้นแตกฉานยิ่งขึ้น เช่น การสอนภาษาต่างประภาษาต่างประเทศโดยพูดจากเจ้าของภาษา การบรรเลงดนตรี เป็นต้น
วิทยุโรงเรียนคืออะไร
วิทยุ โรงเรียนเป็นสื่อการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งจัดเป็นบริการสื่อเพื่อการศึกษา สำหรับโรงเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาทั่วประเทศ วิทยุโรงเรียนเป็นสื่อประสมกล่าวคือเป็นการใช้สื่วิทยุกระจายเสียง ประกอบกับสื่อสิ่งพิมพ์ คือ คู่มือการสอนของครู บัตรภาพ บัตรคำ สำหรับนักเรียนด้วยเนื้อหา ของบทเรียนวิทยุโรงเรียนได้จัดให้สอดคล้องกับเนื้อตามหลักสูตรของกระทรวง ศึกษาธิการ ปัจจุบันวิทยุโรงเรียนจัดทำบทเรียนรายวิชาต่างๆ สำหรับระดับประถมศึษาทุกกลุ่ม

ประวัติการดำเนินงานโครงการวิทยุโรงเรียน
ความเป็นมา กระทรวง ศึกษาธิการ ได้ดำเนินงานโครงการจัดตั้งบริการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 โครงการนี้มีนโยบายใช้วิทยุเป็นสื่อนำวิทยาการใหม่ๆ ทั้งนี้โดยกำหนดการจัดรายการเป็น 2 ภาค คือ การกระเสียงภาคเพื่อความรู้ความบันเทิงแก่ประชาชนทั่วไป เรียกว่า ภาควิทยุเพื่อการศึกษาประชาขนการ กระจายเสียงเพื่อการศึกษาในโรงเรียน เรียกว่า ภาควิทยุโรงเรียน เรียกว่า ภาควิทยุโรงเรียน เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปีการศึกษา 2501 เป็นต้นมา
วิทยุโรงเรียนช่วยการเรียนการสอนได้อย่างไร
วิทยุ โรงเรียนจัดทำขึ้นเพื่อช่วยปรับปรุงและส่งเสริมคุณภาพการเรียนการสอนในห้อง เรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นบทเรียนวิทยุโรงเรียนช่วยสอนโดยตรงในบางวิชา และช่วยสาธิตการสอนในบางวิชา เพื่อให้แนวทางและเสนอแนะเทคนิคการสอนใหม่ๆ แก่ครู สำหรับนักเรียนวิทยุโรงเรียนช่วยนำประสบการณ์จากโลกภายนอกมาสู่ห้องเรียน ทำให้การเรียนการสอนมีชีวิตชีวาขึ้นนอกจากนี้วิทยุโรงเรียนยังเป็นสื่อการ สอนที่เป็นประโยชน์มากสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก หรือโรงเรียนที่ขาดครูเฉพาะบางวิชาอีกด้วย
สำหรับครู
บทเรียนวิทยุโรงเรียนช่วยการสอนในห้องเรียนของครูตามแนวหลักสูตรใหม่ รวมทั้งช่วยเสริมเนื้อหาของหลักสูตรให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ครูผู้สอนให้แนวคิด และเทคนิคการสอนแปลกๆ ใหม่ๆ ที่น่าสนใจ เพื่อนำไปปรับปรุงการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วิทยุโรงเรียนช่วยครูสอนได้ในวิชาที่ถนัด หรือมีประสบการณ์น้อย เช่น วิชาดนตรีและนาฏศิลป์ ภาษา
สำหรับนักเรียน
บทเรียนโรงเรียนมีกิจกรรมโรงเรียนที่เร้าความสนใจของนักเรียนทำให้นักเรียนสนุกสนานกับบทเรียน
วิทยุโรงเรียนมีเทคนิคการสอนที่ช่วยนักเรียนเข้าใจเนื้อหาบทเรียนง่ายขึ้น และเกิดความคิดรวบยอดที่ถูกต้อง
ช่วยนำประสบการณ์ใหม่ๆ จากโลกภายนอกมาสู่ห้องเรียนช่วยให้นักเรียนมีความรู้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แนะนำตัว

ยุ้ย ค่ะ